Tag: มิจฉาผล

ความฉลาดที่จะกินเนื้อสัตว์ได้อย่างมีเหตุมีผล

December 20, 2015 | | มีผู้เข้าชมทั้งหมด 1,356 views 0

ฉลาดเฉโก คือ กิเลสฉลาด

ไม่ใช่ปัญญาที่พาพ้นทุกข์ แต่เป็นความฉลาดของกิเลสที่พาให้เป็นทุกข์ด้วยการหาช่องในการเสพสิ่งที่ไร้สาระ

การเห็นโทษภัยของการเบียดเบียนเพราะกินเนื้อสัตว์ เป็นปัญญาระดับพื้่นๆ คนทั่วไปก็สามารถรู้ได้เข้าใจได้ ว่าการที่เรายังกินเนื้อสัตว์อยู่จะไปมีส่วนในการเบียดเบียน

ถ้ายังไม่มีปัญญาเห็นโทษของความตื้นระดับนี้ ก็อย่าหวังจะมีปัญญาในระดับลึกเลย พระอริยะก็เป็นหวังเลย พระอรหันต์ยิ่งไม่ต้องหวังเลย เพราะนี้มันปัญญาระดับที่คนดีทั่วไปยังเข้าใจได้เท่านั้นเอง ถ้ายังเข้าใจไม่ได้แล้วจะหวังให้ตนเองมีปัญญาสูงกว่านั้นได้อย่างไร

การเห็นโทษภัยของการเบียดเบียนกันด้วยการฆ่านี้เป็นเรื่องหยาบ การปฏิบัติธรรมของพุทธต้องเป็นไปตามลำดับ หยาบ กลาง ละเอียด ไม่ใช่อยู่ๆโผล่มาเป็นพระอรหันต์เลย มันต้องละอบายมุขให้ได้ก่อน ศีล ๕ ให้ได้ก่อน การเบียดเบียนตื้นๆเช่นนี้เอาออกให้ได้ก่อน

ไม่ใช่จะมาตีกินว่าฉันบรรลุธรรมขั้นนั้นขั้นนี้แล้ว หาช่องให้ตัวเองเสพ อันนั้นมันเฉโก กิเลสมันฉลาด มันไม่มีความสะดุ้งกลัวต่อการเบียดเบียน ไม่มีหิริโอตตัปปะ ธรรมะมันจะขัดกันวุ่นวายไปหมด มีแต่วาทะว่าฉันนี้เลิศ แต่ไม่ลดการเบียดเบียน

สรุปไว้ก่อนเลยว่า ถ้ายังไม่มีปัญญาเห็นโทษของการกินเนื้อสัตว์ที่เขาฆ่ามา ก็อย่าเฉโกว่าตัวเองมีปัญญามากกว่านั้นเลย ที่ยากกว่านั้นยังมีอีกเยอะ

เดี๋ยวคนเขาจะเข้าใจผิดว่าศาสนาพุทธเป็นศาสนาเทวดา ที่สามารถเบียดเบียนผู้อื่นได้โดยไม่มีผลกรรมอะไรที่ต้องรับผิดชอบ มันจะพาโง่ พามิจฉาทิฏฐิวุ่ยวายกันไปหมด มันจะแก้ยาก

พระไตรปิฏกมีหลักฐานไว้ชัดเจนอยู่แล้วว่าผู้เจริญในทางพุทธศาสนา ตัวเองก็ต้องไม่ฆ่า และไม่ชักชวนให้ผู้อื่นฆ่าทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งยังต้องสรรเสริญคุณของการไม่ฆ่านั้นอีก (เล่ม 19 ข้อ 1459)

ถ้าตัวเองยังกินเนื้อที่เขาฆ่ามาอยู่ มันก็คือการทำให้คนเข้าใจว่าการให้กันด้วยเนื้อที่เขาฆ่ามานั้นดี มันก็ผิดหลักปฏิบัติทั้งยังขัดกับความรู้สึกของผู้ไม่เบียดเบียนอยู่เนืองๆ

แต่ก็เอาเถอะ… คนปฏิบัติแบบมิจฉา ก็ย่อมได้มิจฉาผลเป็นธรรมดา การที่เขาเหล่านั้นจะไม่มีหิริโอตตัปปะย่อมเป็นเรื่องธรรมดาเช่นกัน

คนที่ไม่ยึดติดจะโอนอ่อนไปสู่สิ่งที่เป็นกุศล สิ่งที่ไม่เบียดเบียน แต่คนที่ยึดติด กิเลสจะพาเฉโกให้ไปทางเบียดเบียน จะเถียงกิน ทำอย่างไรก็ได้ให้ตัวเองได้กิน แม้จะกล่าวตู่ว่าพระพุทธเจ้าฉันเนื้อสัตว์ก็ยังกล่าวได้โดยไม่ละอายใจใดๆ เพราะไม่ได้ศึกษามานั่นเอง

สรุปสุดท้ายไว้ว่า สาวกของพระพุทธเจ้าแท้ๆ เป็นผู้ไม่เบียดเบียนทั้งทางตรงและทางอ้อม ส่วนพวกที่ยังเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นอยู่โดยไม่รู้สึกผิดนั้น ก็สุดแล้วแต่จะพิจารณา… (เล่ม 25 ข้อ 29)

ปฏิบัติธรรมในปัจจุบัน

November 15, 2015 | | มีผู้เข้าชมทั้งหมด 1,053 views 0

สัญญาของคนส่วนใหญ่ในปัจจุบันนี้ จะเข้าใจว่าการปฏิบัติธรรมนั้นต้องนั่งสมาธิบ้าง เดินจงกรมบ้าง ไปวัดบ้าง

แม้จะเป็นความเห็นที่เอ่ยเอ้งว่า “ปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน” ก็กลายเป็นการประยุกต์การนั่งสมาธิ การเดินจงกรมเข้ามาใช้อีก

ซึ่งมันแคบมากเมื่อเทียบกับองค์ประกอบทั้งหมดของมรรค ๘ และที่สำคัญ มันจะมีน้ำหนักไปทางลัทธิฤๅษีเสียด้วยซ้ำ

ซึ่งสัมมาอริยมรรคนั้นมีองค์ประกอบของการ คิด พูด ทำ ที่ถูกต้องอยู่ในปัจจุบัน

….แต่กลับไปปฏิบัติหยุดคิด ปิดวาจา นั่งนิ่งๆไม่ทำอะไร มันก็ผิดทางมรรคสิ ทำแบบนั้นมันก็สงบได้จริง แต่มันสงบแบบสมถะ ซึ่งเป็นทางของฤๅษีทั่วๆไปนั่นแหละ อย่างเก่งก็กดข่มเป็นฤๅษีสุดสงบ ไม่เสพกาม น่าศรัทธา ซึ่งมันก็มีรูปที่มองผ่านๆแล้วน่าเคารพอยู่ แต่มันผิดพุทธเท่านั้นเอง

ยิ่งถ้านักบวชไปเห็นผิด เอาความสงบแบบสมถะมาเป็นมรรคเป็นผลนี่ยิ่งแล้วใหญ่เลย กลายเป็นฤๅษีในผ้าเหลืองนั่นแหละ

ถ้าเริ่มต้นด้วยมิจฉามรรค ก็จะได้ผลเป็นมิจฉาผลตามกันด้วย เหตุแห่งความเสื่อมนั้นเกิดจากการไม่คบหาสัตบุรุษ ไม่ศึกษาในอธิศีล แล้วดันไปยึดมั่นถือมั่นในมิจฉาทิฏฐิ

…ปิดประตูไปอีกชาติ