พึงสละ เพื่อรักษา
พึงสละทรัพย์เพื่อรักษาอวัยวะ
พึงสละอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต
พึงสละทั้งทรัพย์ อวัยวะ และชีวิต เพื่อรักษาธรรม
(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๘ มหาสุตโสมชาดก ข้อ ๓๘๒)
[๓๘๒] การสละชีวิตได้นี้เป็นธรรมของสัตบุรุษ สัตบุรุษทั้งหลายย่อมมีปฏิญาณ เป็นสัจจะโดยแท้ พรที่พระองค์ได้ประทานไว้แล้วขอได้โปรดประทานเสียโดยพลันเถิด ดูกรพระราชาผู้ประเสริฐสุด พระองค์จงทรงสมบูรณ์ด้วยธรรมข้อนั้นเถิด นรชนพึงสละทรัพย์เพราะเหตุแห่งอวัยวะอันประเสริฐ เมื่อจะรักษาชีวิตไว้ พึงสละอวัยวะ เมื่อระลึกถึงธรรม พึงสละทั้งอวัยวะ ทั้งทรัพย์ และแม้ชีวิตทั้งหมด.
ประชาสัมพันธ์ : งานประชุมมังสวิรัติและงานเทศกาลมังสวิรัติ
ผมได้รับเชิญให้ไปพูดในส่วนของงานประชุม ในวันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน 2558 ในภาคบ่าย
ในส่วนของงานประชุม นักเรียน/นักศึกษาเข้าฟังฟรี ส่วนบุคคลทั่วไปมีค่าใช้จ่ายครับ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน : http://www.apvcbangkok2015.com/
ปฏิบัติธรรมที่ไหนดี?
ปฏิบัติที่กิเลสสิดี
ถ้าไม่เอาธรรมะไปปฏิบัติต่อกิเลส
แล้วจะปฏิบัติธรรมไปเพื่ออะไร?
กิเลสมีตรงไหนก็ปฏิบัติตรงนั้น
มีกิเลสเรื่องไหนก็ปฏิบัติเรื่องนั้น
ให้มันถูกตัวถูกตนของกิเลส
ปฏิบัติธรรมไม่เห็นตัวตนของกิเลส
ก็เหมือนคนตาบอดถือปืนเดินเข้าป่าหมายจะล่าสัตว์
ได้ยินเสียงอะไรขยับก็ยิงออกไป
ในทิศทางที่เดาเอาเองว่าใช่
พอเสียงนั้นเงียบไป จึงเข้าใจว่าสัตว์นั้นตาย
ก็หลงดีใจว่าเรานี่เป็นผู้ล่า เราชนะสัตว์นั้นแล้ว
แต่สัตว์นั้นคืออะไรไม่รู้…
ยิงไปทางไหนก็ไม่รู้…
แล้วกำลังอยู่ตรงไหนก็ไม่รู้…
ว่าแล้วก็หลงป่าไปในที่สุด….
กิเลสจะถูกเห็นได้ก็ต่อเมื่อมีศีล
และจะชัดยิ่งขึ้นเมื่อเพิ่มอธิศีล
หากคนไม่มีอธิศีล สักแต่ว่าถือศีล
ก็จะเสื่อมจากความเจริญในที่สุด
การปฏิบัติธรรมที่ไม่มีศีล
ย่อมไม่มีมรรคผลใดๆเกิดขึ้น
เหมือนนักปฏิบัติธรรมตาบอด
แต่หมายจะไล่ล่าทำลายกิเลส
ย่อมไม่มีทางเป็นไปได้เลย
แม้แต่จะจินตนาการ…
ผลของกรรมเกิดจากสิ่งที่เราทำมา (เรามีกรรมเป็นของตน)
กรณีของคุณปอ ทฤษฎี หากว่าเขาจะหายหรือไม่หายนั้นก็เป็นไปตามกรรมที่เขาทำมา
เราไม่สามารถทำอะไรให้เขามีผลกรรมจากเราได้ กรรมไม่สามารถโยกย้ายได้ ใครทำอะไรไว้คนนั้นก็รับ
เช่น เราไม่สามารถทำกรรมชั่วแล้วโยนความชั่วนั้นให้คนที่เราเกลียดและชิงชังได้ ดังนั้นการสาปแช่งจึงไม่ได้มีผลใดๆต่อผู้อื่นในมุมมองของพุทธศาสนาเลย
เช่นเดียวกันกับ เราไม่สามารถทำกรรมดีแล้วโอนกรรมดีนั้นให้ใครได้ การสวดมนต์ นั่งสมาธิ จนกระทั่งการบวชด้วยความเห็นผิดว่ากรรมดีนั้นจะมีผลให้คนที่รักรอดพ้นจากภาวะเหล่านั้น
เขาจะรอดก็รอดด้วยกรรมของเขาเอง ไม่มีใครมีอำนาจเกินกรรมของเขา กรรมนี่แหละคือพระเจ้า ใครทำอะไรก็ได้รับผลอย่างนั้น ไม่มีใครเก่งเกินกรรม
ในช่วงนี้มีกระแสที่ทำให้แสดงให้เห็นถึงความเห็นผิดในธรรมอย่างชัดเจน พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า มิจฉาทิฏฐิควรปิดบังไว้ ไม่ควรเปิด เปิดเผยแล้วไม่เจริญ
เจตนาดีบนความเห็นผิดก็ยังเป็นความไม่ดี เพราะทำไปแบบผิดๆก็จะสะสมกรรมไม่ดีให้ตัวเองเปล่าๆ ส่วนคุณปอ เขาก็ไม่ได้รับผลกรรมอะไรจากเราหรอก เขาก็รับกรรมของเขาเท่านั้นเอง