จะรู้ได้อย่างไร ว่ากิเลสมากหรือน้อย

June 22, 2015 | | มีผู้เข้าชมทั้งหมด 1,594 views 0

จะรู้ได้อย่างไร ว่ากิเลสมากหรือน้อย

จะรู้ได้อย่างไร ว่ากิเลสมากหรือน้อย

ในปัจจุบันเรามีวิธีบริหารจิตใจไม่ให้เกิดความทุกข์มากมาย มีกิจกรรมปฏิบัติธรรมหลากหลายที่เกิดขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์คนทุกจริตตามกรรมของแต่ละคน เราสามารถเห็นคนดีมีศีลธรรมปะปนอยู่ในชีวิตประจำวันของเราได้เป็นเรื่องปกติ แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่า ที่ว่าดีนั้น ดีแค่ไหน?

วิธีตรวจว่าตนเองว่าดีจริงหรือไม่นั้นก็ไม่ยาก เพียงแค่นำศีลเข้าไปใช้ในชีวิตประจำวัน หากดีจริงชีวิตจะไม่ทุกข์ไม่ติดขัด ถือศีลได้อย่างปกติ แต่ถ้าไม่ดีจริง มันจะติดขัด จะมีเหตุให้ผิดศีล เกิดทุกข์ หดหู่ ไม่เบิกบานกระทั่งเลิกถือศีลไปเลยก็ได้

เพียงแค่ศีล ๕ ที่เข้าใจกันโดยทั่วไปก็สามารถจะทำให้ตนเองนั้นรู้ตัวได้ว่าเราดีจริงแล้วหรือยัง เรายังมีเหตุให้ผิดศีลอยู่หรือไม่ กิเลสนั้นเองคือเหตุที่ทำให้ผิดศีล ถ้าไม่มีกิเลสก็จะไม่มีข้ออ้างใดๆให้ทำผิดศีลเลย แม้ว่าจะไม่ได้ผิดศีลในระดับศีลขาด แต่ความขุ่นข้องหมองใจนั้นก็เรียกได้ว่ายังผิดอยู่ในระดับของใจ เพราะศีลนั้นต้องชำระกิเลสตั้งแต่ภายนอกไปจนถึงภายใน ตั้งแต่กาย วาจา ไปจนถึงใจ

หากมีศีลเพียงแค่คุมกายวาจา แต่ใจนั้นยังปรุงแต่งเชื้อทุกข์อยู่แม้จะเห็นหรือไม่เห็นก็ตาม จนทำให้เกิดความไม่โปร่ง ไม่โล่ง ไม่สบาย ไม่เบิกบาน หดหู่ หงุดหงิด ฯลฯ ก็เรียกได้ว่ายังชั่วอยู่

การมีศีลได้นั้นจะต้องมีปัญญา พระพุทธเจ้าเปรียบปัญญาและศีลเป็นสิ่งที่เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ใช่ว่าทุกคนจะสามารถเข้าถึงศีลนั้นๆได้ เพราะจำเป็นต้องมีปัญญาที่มากพอจะเอื้อมถึงคุณประโยชน์ของศีลนั้นด้วย

ยกตัวอย่างเช่น เราเจอคนดีคนหนึ่ง ดูท่าทีเป็นนักปฏิบัติธรรมมาก พูดอะไรเป็นธรรมะหมด ก็เลยลองเสนอสิ่งดีๆที่เราเห็นว่าเป็นประโยชน์กับเขาและเขายังไม่ได้รู้ถึงประโยชน์นั้น เช่นบอกว่าลองกินมังสวิรัติดูสิ ได้ประโยชน์ต่อสุขภาพและไม่เบียดเบียนด้วย ถ้าเขามีปัญญามากพอ เขาจะสนใจถือศีลนั้น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าสามารถศึกษาศีลจนเกิดปัญญาที่เป็นผลได้ทันที

หรือในอีกตัวอย่างหนึ่งเช่น เราเจอคนดี มีศีลธรรม เราก็ลองเสนอสิ่งดีๆเหมือนเดิม ทีนี้ลองเสนอศีลที่ยากขึ้นเช่น กินจืด , กินมื้อเดียว , เป็นโสด ฯลฯ ลองดูว่าเขาจะรับไหวไหม มีเหตุผลของกิเลสมากมายที่จะทำให้คนปฏิเสธการมีศีล แม้ว่าจะเป็นเหตุผลที่ดูดีและน่าเชื่อถือแค่ไหน นั่นแหละพลังแห่งความชั่วที่อยู่ในตนมันกำลังขัดขวางทางเจริญ

ทีนี้ก็ลองเอาตัวอย่างทั้งหมดมาปรับใช้กับตัวเอง การที่เราคิดว่าเราเป็นคนดีแล้ว เราดีจริงหรือ? แล้วเราดีแค่ไหน? เรายังปนชั่วอยู่ไหม? ลองเอาศีลนี้มาปฏิบัติดูซิ ถ้าทำได้ก็เอาศีลที่ยากมาปฏิบัติอีก พระพุทธเจ้าท่านให้ผู้บวชในศาสนาของท่านศึกษา จุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล ถ้าเป็นนักบวชก็สามารถปฏิบัติได้ทุกข้อ แต่ถ้าเป็นฆราวาสก็เลือกข้อที่เหมาะสมหรือจะเริ่มจากศีล ๕, ๘, ๑๐ หรือจะชอบแบบผสมก็ได้ แต่อย่าไปผสมให้เลี่ยงสิ่งที่ติด ควรจะศึกษาศีลที่ทำให้ตัวเองเห็นกิเลส ศีลใดถือแล้วเฉยๆก็ถือไปอย่างนั้น แล้วเพิ่มศีลอื่นๆไปเข้าอีก

อย่างเช่นการกินมื้อเดียวนี่ใช่ว่าแค่นักบวชเท่านั้นที่ทำได้ ฆราวาสก็ทำได้ มีคนพิสูจน์มาแล้วมากมายว่าสามารถกินมื้อเดียวแล้วมีพลังใช้ชีวิตได้อย่างปกติ ซึ่งโดยมากจะเกิดศักยภาพมากกว่าปกติ ไม่มีข้อจำกัดใดๆในการถือศีลนอกจากกิเลส

ศีลในหมวดของอาหารตั้งแต่ ลดเนื้อกินผัก กินจืด กินมื้อเดียว เลิกกินขนมและสิ่งฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย คือหมวดศีลที่ปฏิบัติได้ทุกคนทั้งนักบวชและฆราวาส นั่นหมายถึงทุกคนสามารถปฏิบัติธรรมได้บนพื้นฐานเดียวกัน คือจะเจอกิเลสที่มีลักษณะและลีลาคล้ายๆกันนั่นเอง

หากการมีศีลเกิดจากปัญญา การไม่มีศีลก็คือไม่มีปัญญาเช่นกัน

– – – – – – – – – – – – – – –

21.6.2558

ดิณห์ ไอราวัณวัฒน์ (Dinh Airawanwat)

Related Posts

  • ตรวจสอบศีล ข้อ๑ เราเมตตามากพอหรือยัง ตรวจสอบศีล ข้อ๑ เราเมตตามากพอหรือยัง ถือศีลกันมาก็นานแล้ว เราเคยตรวจสอบกันบ้างไหมว่าจิตใจของเราเจริญขึ้นมาอย่างไรบ้าง โดยเฉพาะศีลข้อ ๑ คือให้เว้นขาดจากการฆ่าทำร้ายทำลาย ทำชีวิตสัตว์ให้ตกร่วง ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ไม่เบียดเบียนสัตว์ […]
  • การเพิ่มศีล มีคำถามเข้ามาว่าให้ช่วยอธิบายการเพิ่มศีลให้สูงขึ้น การเพิ่มศีลหรือ "อธิศีล" เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของไตรสิกขา ซึ่งเป็นกระบวนการศึกษาเพื่อชำระล้างกิเลสโดยลำดับ ปัจจุบันไตรสิกขาได้เลือนหายไปตามกาล จางไปตามกิเลส ไม่ค่อยมีคนพูดถึง […]
  • เราควรที่จะมีแง่คิดในเรื่องของความรักเป็นอย่างไร? ถาม : เราควรที่จะมีแง่คิดในเรื่องของความรักเป็นอย่างไร? ตอบ :  ในศีลข้อ 1 ภาคขยาย ได้กล่าวถึงประโยคที่ว่า มีความเมตตา มีความเกื้อกูล หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลาย อันนี้คือแง่คิดที่เป็นประโยชน์ตนประโยชน์ผู้อื่นมากที่สุด […]
  • ธนาคารอวิชชาใต้อุปาทาน ธนาคารอวิชชาใต้อุปาทาน ธนาคารน้ำใต้ดิน เป็นกระแสความรู้เกี่ยวกับการจัดการน้ำ ที่ค่อนข้างจะเป็นที่กล่าวถึง ในช่วงกลางปี พ.ศ.2562 มานี้ โดยเฉพาะการนำพาปฏิบัติของอาจารย์หมอเขียว […]
  • โรงบุญโรงทาน จากยุคพุทธกาลสู่เมืองไทยในปัจจุบัน โรงบุญโรงทาน จากยุคพุทธกาลสู่เมืองไทยในปัจจุบัน ตามที่ได้ศึกษาพุทธประวัติ มีอุบาสกท่านหนึ่ง ผู้เป็นเลิศในด้านการให้ทาน คือ ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ผู้เป็นอริยะสาวก […]

ฝากความคิดเห็น : Leave a Reply