ความรัก บนทางโต่งสองด้าน

November 4, 2015 | | มีผู้เข้าชมทั้งหมด 1,148 views 0

ความรัก บนทางโต่งสองด้าน

ความรัก บนทางโต่งสองด้าน

ความทุกข์ทั้งปวงเกิดจากการที่เราหลงไปในทางโต่งสองด้าน ความรักก็เช่นกัน หากยังหลงมัวเมาอยู่กับทางโต่งทั้งสองด้านนั้น ก็ไม่มีวันที่จะพ้นจากทุกข์ไปได้เลย

ทางโต่งสองด้าน ข้างหนึ่งคือ “กาม” ข้างหนึ่งคือ “อัตตา” ความเป็นกลางบนความรักไม่ใช่การมีคู่โดยไม่ยึดมั่นถือมั่น แต่เป็นความรักที่ไม่เข้าไปหลงเสพหลงสุขมัวเมาในสุขลวงทั้งหลายและไม่ทรมานตัวเองด้วยความยึดดี สรุปคือต้องออกจากความ “ยึดชั่ว” และ “ยึดดี” ให้ได้จึงจะเรียกว่า “กลาง

โดยปกติแล้วคนเรามักจะยึดชั่ว ลุ่มหลงมัวเมาอยู่กับกาม เข้าใจว่าการมีคู่ ได้เสพความเป็นคู่นั้นเป็นสุข จึงยินดีมัวเมาอยู่ในกามเหล่านั้น การจะออกจากกามนั้นต้องพยายามทวนกระแสแรงดึงดูดของกาม ซึ่งจะต้องมีแรงดึงจากอัตตา คือต้องใช้ความยึดดีเพื่อช่วยให้หลุดออกจากกาม

แต่เมื่อยึดดีเข้ามากๆก็มักจะเกินพอดี ด้วยแรงแห่งความยึดดี จึงไหลตกไปสู่ทางโต่งในด้านอัตตา แล้วหลงมัวเมาอยู่กับความยึดดี ยึดมั่นถือมั่นความโสด ดูถูกดูหมิ่น รังเกียจการมีคู่ ซึ่งหากยังมีกิเลสในด้านกามที่สะสมไว้มาก การยึดดีนั้นจะทำให้เกิดความทรมานอย่างมาก คืออยากมีคู่แต่ก็กดข่มไว้ด้วยความยึดดี สุดท้ายเมื่อกามโตขึ้นเรื่อย ๆ ก็จะตบะแตก โดนกามดูดกลับไปทางโต่งด้านกาม แล้วจะยิ่งร่วงลงไปในกามที่ลึกกว่าเดิม เหมือนหนังยางที่ยืดจนตึง เมื่อปล่อยก็จะดีดตัวพุ่งออกไปอย่างรุนแรง

กามและอัตตาจึงเป็นทางโต่งที่คนหลงวนไปวนมา อยากมีรักก็มุ่งเสพกาม พออกหักผิดหวังก็หันมายึดดี มีอัตตายึดความโสด พอโสดไม่ได้เสพสักพักก็โหยหวนวนกลับไปหากาม ซึ่งเป็นธรรมชาติของโลกีย์ที่จะมีความวนเวียนเช่นนี้

ผู้ที่ไม่ศึกษาและปฏิบัติอย่างถูกตรงจนเกิดผล จึงไม่สามารถพ้นไปจากทางโต่งทั้งสองด้านได้เลย เพราะทั้งกามและอัตตานั้นเป็นพลังของกิเลสที่มีพลานุภาพมากเท่าที่เคยสะสมความหลงผิดไว้ ซึ่งมันก็จะคอยดึงให้เอนไปในทางโต่งข้างใดข้างหนึ่งอยู่เสมอ ไม่สามารถมีความเป็นกลางที่หลุดพ้นจากทางโต่งทั้งสองด้านนั้นได้

ความเป็นกลางคือสภาพของการยึดอาศัยสิ่งที่ดีที่สุด เป็นกุศลมากที่สุด เบียดเบียนตนเองและผู้อื่นน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ นั่นคือเลือกที่จะอาศัยสภาพของ “ความโสด” ในการดำรงชีวิต ซึ่งจะเข้ากับหลัก “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” และสอดคล้องกับหลาย ๆ คำตรัสของพระพุทธเจ้า เช่น คู่ครองและบุตรคือบ่วง,บัณฑิตย่อมประพฤติตนเป็นโสด ฯลฯ รวมทั้งเป็นความเจริญไปในทางปฏิบัติของศาสนาพุทธด้วย

– – – – – – – – – – – – – – –

4.11.2558

ดิณห์ ไอราวัณวัฒน์ (Dinh Airawanwat)

Related Posts

  • อุปาทาน สมาทาน กรณีศึกษาการไม่กินเนื้อสัตว์ อุปาทาน สมาทาน กรณีศึกษาการไม่กินเนื้อสัตว์ ในหนึ่งการกระทำอาจจะมีเหตุผลที่ต่างกันมากมาย การไม่กินเนื้อสัตว์ก็เช่นกัน แม้ดูเผินๆจะเหมือนว่าคนที่ไม่กินเนื้อสัตว์หลายคนต่างก็เหมือนๆกัน […]
  • ยึดดี & เพ่งโทษ : หนทางแห่งความเสื่อมที่ขวางกั้นโอกาสแห่งการหลุดพ้น ยึดดี & เพ่งโทษ : หนทางแห่งความเสื่อมที่ขวางกั้นโอกาสแห่งการหลุดพ้น กรณีศึกษา : ผู้ที่กินเนื้อสัตว์ และผู้ที่ไม่กินเนื้อสัตว์ ประสบการณ์จะสร้างให้คนเรามีความยึดมั่นถือมั่นที่แตกต่างกัน […]
  • มังสวิรัติ รูปธรรม นามธรรม มังสวิรัติ รูปธรรม นามธรรม รูปธรรมนั้นเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ง่าย เป็นภาพที่เห็นได้ เป็นอาการที่เห็นได้ เป็นความรู้สึกนึกคิดที่รับรู้ได้ การปฏิบัติใดๆที่ทำให้เกิดผลทางรูปธรรมนั้นทำได้ไม่ยากนัก […]
  • อย่าไว้ใจชาย อย่าไว้ใจชาย มารยาหญิงที่ว่ามีกว่าร้อยเล่มเกวียน กลวิธีมากมายหลากหลายกระบวนท่า แต่สุดท้ายก็ต้องพลาดท่าให้กับชายอยู่ดีนั่นแหละ มารยา กลยุทธ์ กลวิธีของชายนั้น มักจะไม่ได้ถูกบันทึกหรือกล่าวขานไว้ […]
  • วิธีปฏิบัติธรรม จากการกินอาหารมังสวิรัติ วิธีปฏิบัติธรรม จากการกินอาหารมังสวิรัติ วิธีการที่จะนำมาเสนอต่อไปนี้ เป็นการสรุปย่อเพื่อให้เข้าใจหลักปฏิบัติโดยรวมได้ง่าย พยายามที่จะใช้ศัพท์เฉพาะให้น้อยเพื่อการเข้าถึงที่ง่าย หากมีโอกาสในวันใดวันหนึ่งคงได้พิมพ์ฉบับละเอียดออกมา […]

ฝากความคิดเห็น : Leave a Reply