Tag: มิจฉาทิฏฐิ

โง่-ขยัน (สุดยอดแห่งความฉิบหาย)

April 19, 2016 | | มีผู้เข้าชมทั้งหมด 1,702 views 0

โง่-ขยัน (สุดยอดแห่งความฉิบหาย)

วันนี้ผมซึ้งเรื่องหนึ่งคือ ความขยันของคนโง่นี่แหละ เป็นอะไรที่แย่ที่สุดแล้ว

คือตนเองก็ไม่รู้ดีรู้ชั่ว ไม่รู้ถูกผิด เข้าใจว่าที่ตนทำนั้นถูกทั้งที่ผิด(โง่) แต่ก็มีความตั้งใจที่จะทำสิ่งนั้นต่อไป เพราะเข้าใจว่าสิ่งนั้นถูก ความขยันที่มีจึงกลายเป็นการขุดหลุมฝังตัวเองลงไปในความโง่ที่ลึกลับซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ

แน่นอนว่าคนโง่นั้นก็มักจะไม่โง่อยู่คนเดียว ซึ่งมักจะแจกจ่ายความโง่ของตัวเองไปให้กับคนอื่นด้วย ก็เลยกลายเป็นช่วยกันขุดให้ลึกลงไปอีก ทั้งหมดนั้นคือลักษณะของการเติบโตของมิจฉาทิฏฐิ

พระพุทธเจ้าตรัสไว้เกี่ยวกับสามสิ่งที่ไม่ควรเปิดเผย หนึ่งในนั้นคือมิจฉาทิฏฐิ ทีนี้ใครล่ะจะรู้ว่าตนเองมิจฉาทิฏฐิ ยิ่งโง่ยิ่งไม่เห็นมิจฉาทิฏฐิ จะไปเข้าใจว่าตนเองสัมมาทิฏฐิด้วยซ้ำ

คนมีปัญญายังพอเห็นมิจฉาทิฏฐิในตนบ้าง นั่นหมายถึงมีส่วนของสัมมาทิฏฐิที่มารู้ในส่วนมิจฉาในตนบ้างแล้ว

แต่คนที่มิจฉาทิฏฐิแล้วยังหลงว่าตนเป็นสัมมาทิฏฐิอีก เรียกว่าโง่ซ้ำโง่ซ้อน แล้วดันเป็นคนขยันอีก ทีนี้เป็นอย่างไร? เขาก็จะทำสิ่งที่เขาเห็นผิดนั่นแหละให้มันยิ่งขึ้นๆ ให้มันกระจายออกไปมากขึ้น เพราะเขาหลงว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นสิ่งดี

มีบทหนึ่งที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสเกี่ยวกับเรื่องที่จะเกิดในอนาคต ซึ่งเปรียบเทียบกับกลองศึกชื่ออานกะ คือในอดีตนั้นมีกลองชื่ออานกะ แต่ต่อมาก็ได้มีการซ่อมบำรุงปรับปรุงแก้ไขจนความเป็นกลองอานกะเดิมนั้นไม่มีเหลืออยู่ มีเพียงชื่อเท่านั้นที่ยังอยู่ ส่วนเนื้อในนั้นได้ถูกเปลี่ยนเป็นของใหม่ไปหมดแล้ว

ซึ่งท่านก็เปรียบกันตรงๆว่าพุทธในสมัยต่อมานั้นจะเหมือนกลองอานกะ คือมีแต่ชื่อ แต่เนื้อในไม่เหมือนเดิมแล้ว คนจะไปฟังธรรมะที่แต่งขึ้นใหม่โดยครูอาจารย์ แต่จะไม่ฟังธรรมะเก่าซึ่งเป็นเนื้อแท้ของศาสนา ซึ่งมีความลึกซึ้ง รู้ตามได้ยาก คำสอนที่แท้จึงค่อยๆ เลือนหายไปในที่สุด

ระวังไว้เถอะ พวกธรรมะง่ายๆ ปฏิบัติได้ง่ายๆ เข้าใจได้ง่ายๆ เข้าถึงได้ง่ายๆ ได้เป็นพระอริยะ พระอรหันต์กันง่ายๆ เหมือนกับได้รับตำแหน่ง supervisor เมื่อทำยอดขายถึงเป้าเท่านั้นเท่านี้

แม้แต่ภาษาสำเนียงท่าทางที่เหมือนพุทธแต่ก็อาจจะไม่ใช่พุทธ ดังกรณีของกลองอานกะ คือรูปนอกน่ะเหมือนทุกอย่าง คำสอนก็เหมือน การปฏิบัติก็เหมือน ดูคล้ายๆก็น่าจะเหมือน แต่เนื้อในไม่มีของเดิมแล้วก็มี

ขยายคำว่า ธรรมะง่ายๆ

คำว่า “ง่าย” ในที่นี้คือ “มักง่าย” คือเอาที่ตนสะดวกนั่นแหละ เพราะถ้าตามที่ผมศึกษานี่เรียกว่าไม่ง่าย หืดขึ้นคอกันเลยทีเดียว

ตัวตรวจวัดก็คือศีลที่ต้องปฏิบัติ ศีล ๕ ก็พอเข้าใจได้ง่ายหน่อย ศีล ๘ ๑๐ จนถึงนักบวชก็ต้องปฏฺิบัติจุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล ในส่วนวินัย สองร้อยกว่าข้อนั้นก็ต้องปฏิบัติด้วย และทั้งหมดต้องอยู่ในแนวทางของมรรค 8 คือกาย วาจา ใจต้องมุ่งไปทางตรงข้ามกับกิเลส

ถ้าเอาศีลไปจับปุ๊ปจะ รู้เลยว่าอันไหนมักง่าย อันไหนทำตามที่พระพุทธเจ้าให้ศึกษา เพราะศีลและวินัยต่างๆ จะเป็นตัวบีบให้ทำในสิ่งที่จะพาไปพ้นทุกข์อยู่แล้ว ถ้าไม่ทำตามศีลมันก็นอกกรอบเท่านั้นเอง

และพวกมักง่าย ก็จะมีอุบายที่จะตีกิน ไม่ทำตามศีลด้วยวาทะเท่ๆ คือมีคำพูดให้ดูดีแม้ตนเองจะไม่ปฏิบัติตามศีล หรือเอาภาวะของพระอรหันต์มาตีกิน (พระอรหันต์ พระพุทธเจ้าท่านไม่ให้เอาผิด) คือไปหลอกคนอื่นว่าตนเองเป็นอรหันต์แล้วจะทำอะไรก็ได้ บางทีหลอกก็ไม่รู้ว่าตัวเองหลอกก็มี คือเข้าใจผิดว่าตนเองเป็นพระอรหันต์ก็มี ในสมัยพุทธกาลก็มีเยอะที่เข้าใจผิดไปเอง(หลงว่าบรรลุธรรม)

ความฉลาดที่จะกินเนื้อสัตว์ได้อย่างมีเหตุมีผล

December 20, 2015 | | มีผู้เข้าชมทั้งหมด 1,249 views 0

ฉลาดเฉโก คือ กิเลสฉลาด

ไม่ใช่ปัญญาที่พาพ้นทุกข์ แต่เป็นความฉลาดของกิเลสที่พาให้เป็นทุกข์ด้วยการหาช่องในการเสพสิ่งที่ไร้สาระ

การเห็นโทษภัยของการเบียดเบียนเพราะกินเนื้อสัตว์ เป็นปัญญาระดับพื้่นๆ คนทั่วไปก็สามารถรู้ได้เข้าใจได้ ว่าการที่เรายังกินเนื้อสัตว์อยู่จะไปมีส่วนในการเบียดเบียน

ถ้ายังไม่มีปัญญาเห็นโทษของความตื้นระดับนี้ ก็อย่าหวังจะมีปัญญาในระดับลึกเลย พระอริยะก็เป็นหวังเลย พระอรหันต์ยิ่งไม่ต้องหวังเลย เพราะนี้มันปัญญาระดับที่คนดีทั่วไปยังเข้าใจได้เท่านั้นเอง ถ้ายังเข้าใจไม่ได้แล้วจะหวังให้ตนเองมีปัญญาสูงกว่านั้นได้อย่างไร

การเห็นโทษภัยของการเบียดเบียนกันด้วยการฆ่านี้เป็นเรื่องหยาบ การปฏิบัติธรรมของพุทธต้องเป็นไปตามลำดับ หยาบ กลาง ละเอียด ไม่ใช่อยู่ๆโผล่มาเป็นพระอรหันต์เลย มันต้องละอบายมุขให้ได้ก่อน ศีล ๕ ให้ได้ก่อน การเบียดเบียนตื้นๆเช่นนี้เอาออกให้ได้ก่อน

ไม่ใช่จะมาตีกินว่าฉันบรรลุธรรมขั้นนั้นขั้นนี้แล้ว หาช่องให้ตัวเองเสพ อันนั้นมันเฉโก กิเลสมันฉลาด มันไม่มีความสะดุ้งกลัวต่อการเบียดเบียน ไม่มีหิริโอตตัปปะ ธรรมะมันจะขัดกันวุ่นวายไปหมด มีแต่วาทะว่าฉันนี้เลิศ แต่ไม่ลดการเบียดเบียน

สรุปไว้ก่อนเลยว่า ถ้ายังไม่มีปัญญาเห็นโทษของการกินเนื้อสัตว์ที่เขาฆ่ามา ก็อย่าเฉโกว่าตัวเองมีปัญญามากกว่านั้นเลย ที่ยากกว่านั้นยังมีอีกเยอะ

เดี๋ยวคนเขาจะเข้าใจผิดว่าศาสนาพุทธเป็นศาสนาเทวดา ที่สามารถเบียดเบียนผู้อื่นได้โดยไม่มีผลกรรมอะไรที่ต้องรับผิดชอบ มันจะพาโง่ พามิจฉาทิฏฐิวุ่ยวายกันไปหมด มันจะแก้ยาก

พระไตรปิฏกมีหลักฐานไว้ชัดเจนอยู่แล้วว่าผู้เจริญในทางพุทธศาสนา ตัวเองก็ต้องไม่ฆ่า และไม่ชักชวนให้ผู้อื่นฆ่าทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งยังต้องสรรเสริญคุณของการไม่ฆ่านั้นอีก (เล่ม 19 ข้อ 1459)

ถ้าตัวเองยังกินเนื้อที่เขาฆ่ามาอยู่ มันก็คือการทำให้คนเข้าใจว่าการให้กันด้วยเนื้อที่เขาฆ่ามานั้นดี มันก็ผิดหลักปฏิบัติทั้งยังขัดกับความรู้สึกของผู้ไม่เบียดเบียนอยู่เนืองๆ

แต่ก็เอาเถอะ… คนปฏิบัติแบบมิจฉา ก็ย่อมได้มิจฉาผลเป็นธรรมดา การที่เขาเหล่านั้นจะไม่มีหิริโอตตัปปะย่อมเป็นเรื่องธรรมดาเช่นกัน

คนที่ไม่ยึดติดจะโอนอ่อนไปสู่สิ่งที่เป็นกุศล สิ่งที่ไม่เบียดเบียน แต่คนที่ยึดติด กิเลสจะพาเฉโกให้ไปทางเบียดเบียน จะเถียงกิน ทำอย่างไรก็ได้ให้ตัวเองได้กิน แม้จะกล่าวตู่ว่าพระพุทธเจ้าฉันเนื้อสัตว์ก็ยังกล่าวได้โดยไม่ละอายใจใดๆ เพราะไม่ได้ศึกษามานั่นเอง

สรุปสุดท้ายไว้ว่า สาวกของพระพุทธเจ้าแท้ๆ เป็นผู้ไม่เบียดเบียนทั้งทางตรงและทางอ้อม ส่วนพวกที่ยังเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นอยู่โดยไม่รู้สึกผิดนั้น ก็สุดแล้วแต่จะพิจารณา… (เล่ม 25 ข้อ 29)

เลือกกิเลสเสียธรรมะ เลือกธรรมะต้องล้างกิเลส

December 7, 2015 | | มีผู้เข้าชมทั้งหมด 1,813 views 1

เลือกกิเลสเสียธรรมะ เลือกธรรมะต้องล้างกิเลส

เลือกกิเลสเสียธรรมะ เลือกธรรมะต้องล้างกิเลส

ในทุก ๆ การตัดสินใจของชีวิตของคนที่ยังมีกิเลส ก็มักจะต้องเลือกระหว่างกิเลสหรือธรรมะ สองสิ่งนี้เป็นทางเลือกอิสระที่ให้ผลต่างกัน

กิเลสคือสิ่งที่จะพาให้ทุกข์ พาเสื่อม ห่างไกลความผาสุกในชีวิต ในขณะที่ธรรมะนั้นคือสิ่งที่จะพาให้พ้นทุกข์ นำความเจริญมาให้ และเข้าใกล้ความผาสุกที่ยั่งยืน

กิเลสและธรรมะนั้นไปด้วยกันไม่ได้ หากเราเลือกกิเลส เราก็จะต้องเสียธรรมะไป หากเราเลือกที่จะเสพสุขกับบางสิ่งบางอย่าง เราก็จะเสียโอกาสในการเข้าถึงธรรมเพราะมัวแต่สนใจสุขลวง เช่น นักบวชในพุทธศาสนาที่เลือกที่จะมีคู่ ก็ต้องสึกและเสื่อมจากธรรมเพื่อแลกกับการเสพโลกีย์สุข

ไม่มีอะไรได้มาโดยที่ไม่เสียอะไรไป เมื่อเราเลือกที่จะเสพโลกีย์สุขตามคำสั่งของกิเลส เราก็จะเสียโอกาสในการเข้าถึงโลกุตระสุขที่ปราศจากกิเลส พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า “ปราชญ์พึงเห็นความสุขอันไพบูลย์ เพราะสละความสุขพอประมาณไซร้ เมื่อปราชญ์เห็นความสุขอันไพบูลย์ พึงสละความสุขพอประมาณเสีย

สุขจากกิเลสนั้นสุขน้อยทุกข์มาก หรือเรียกว่าเป็นสุขลวง ซึ่งการจะเห็นสุขแท้ที่ยั่งยืนนั้นต้องยอมสละสุขลวงจากกิเลส แต่การจะเห็นสุขแท้นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แม้จะมีคำกล่าวว่า “นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง” ถึงกระนั้นสุขแท้จริงเหล่านั้นก็ใช่ว่าทุกคนจะสัมผัสมันได้ง่ายนัก เพราะถ้าหากสุขแท้นั้นเป็นสิ่งที่เข้าถึงได้โดยทั่วไป รู้ได้โดยภาษา เข้าถึงได้โดยการเพ่งเพียรปฏิบัติ ทุกคนก็คงจะเห็นได้ว่าโลกุตระสุขนั้นมีค่ามากกว่าโลกีย์สุข(กิเลส)และยอมทิ้งโลกีย์สุขนั้นกันหมด ซึ่งในโลกแห่งความเป็นจริงมันไม่ใช่แบบนั้นเลย เพราะมีแต่คนที่เมินเฉยต่อการแสวงหาโลกุตระสุข เพียงเพราะพอใจในโลกีย์สุขที่ตนมี

และถึงแม้ว่าเราจะเลือกธรรมะ ก็ใช่ว่าเราจะหมดกิเลส ไม่เหมือนกับตอนที่เราเลือกตามใจกิเลสแล้วเราจะเสียธรรมะ ซึ่งการปฏิบัติของพุทธศาสนามิใช่การนึกคิดเอาเองว่าถ้าทำจิตให้เป็นเช่นนั้น แล้วทุกอย่างจะเป็นเช่นนั้น ไม่ใช่เราเข้าใจว่าเราเป็นพระอรหันต์แล้วจะเป็นพระอรหันต์จริงๆ แต่ต้องเป็นการปฏิบัติที่ลงไปล้างถึงเหตุแห่งทุกข์ โดยใช้หลักของอริยสัจ ๔ ซึ่งจะปฏิบัติชำระความเห็นผิดไปโดยลำดับตั้งแต่เบื้องต้น ท่ามกลาง เบื้องปลาย ลาดลุ่มไปโดยลำดับเหมือนฝั่งทะเล ไม่ชันเหมือนเหว

นั่นหมายความว่าถึงจะเรียนรู้เป็นพันเป็นหมื่นคัมภีร์ ท่องจำได้คล่องปากไม่มีตกหล่น หรือแม้จะเพ่งเพียรปฏิบัติจนแทบจะเรียกได้ว่าเอาชีวิตไปทิ้ง แม้จะเด็ดเดี่ยวจนถึงขั้นยอมตายถวายธรรม ก็ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถเข้าถึงผลของธรรมะได้ หากยังมีความเห็นที่ตั้งไว้ไม่ตรง(มิจฉาทิฏฐิ)

การทำตามกิเลสแล้วเสื่อมจากธรรมเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ไม่ยาก แต่การทำตามธรรมะให้กิเลสเสื่อมเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ยาก มีแต่บัณฑิตเท่านั้นที่รู้ได้ ไม่ใช่สิ่งที่จะด้นเดาเอาได้ เพราะเป็นสิ่งที่ลึกซึ้งยากจะเข้าใจเกินกว่าจะคิดคำนวณเอาเอง จึงมีแต่สาวกของพระพุทธเจ้าผู้มีความรู้แจ้งในอริยสัจ ๔ ที่แท้จริงเท่านั้นที่จะไขความลับนี้ได้

ผู้ที่เลือกตามใจกิเลสอยู่เรื่อยๆ ก็ย่อมจะเสื่อมจะกุศลธรรมไปเรื่อยๆ และห่างไกลจากโอกาสในการเข้าถึงธรรมะที่พาล้างกิเลสไปเรื่อยๆ เช่นเดียวกัน

และข้อปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าให้ไว้เพื่อที่จะขัดเกลากิเลสก็คือ “ศีล” ซึ่งศีลจะทำให้รู้ขอบเขตว่าสิ่งใดคือกิเลส สิ่งใดคือธรรมะ หากปราศจากศีลแล้ว ก็คงยากจะแยกแยะว่าสิ่งใดคือดี สิ่งใดคือชั่ว สิ่งใดที่ควร สิ่งใดไม่ควร ดังนั้นผู้ที่ไม่มีศีลจึงไม่มีโอกาสรู้ได้เลยว่าสิ่งใดคือกิเลส สิ่งใดคือธรรมะ ผู้เสื่อมจากศีล จึงเสื่อมจากความเป็นพุทธ และเสื่อมจากธรรมทั้งหลายทั้งปวงด้วยเช่นกัน

ศีลคือข้อปฏิบัติเบื้องต้นในการเข้าถึงการล้างกิเลส เมื่อผู้ปฏิบัติไม่มีศีล ก็ไม่มีไตรสิกขา ไม่มีการปฏิบัติที่ถูกตรงของพุทธ นั่นหมายถึงไม่มีการล้างกิเลส และไม่มีการหลุดพ้นจากกิเลส ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า หากเลือกธรรมะนั้นก็จำเป็นต้องมีศีลเป็นพื้นฐานด้วย ต่อให้อีกอ่านอีกกี่ล้านคัมภีร์ หรือนั่งนิ่งเป็นพรหมลูกฟัก อวดอ้างตนว่าเป็นผู้บรรลุธรรม หากปราศจากศีลที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว ก็คงจะเป็นเพียงแค่โมฆะบุรุษเท่านั้นเอง

– – – – – – – – – – – – – – –

7.12.2558

ดิณห์ ไอราวัณวัฒน์ (Dinh Airawanwat)

เรียนรู้วิกฤติพุทธจาก กระแสสังคมในช่วงการป่วยของคุณปอ ทฤษฏี

November 23, 2015 | | มีผู้เข้าชมทั้งหมด 1,116 views 0

จากช่วงนี้ เราจะเห็นได้ว่ามีกระแสแปลกๆออกมามากมาย เช่นคนนั้นจะแก้กรรมให้ คนนั้นจะหาวิธีพ้นกรรม ปัดกรรม ชะลอกรรม ฯลฯ หรืออะไรก็ตามที่เป็นศาสตร์ในเชิงลึกลับ ที่ไปยุ่งวุ่นวายกับกรรมคนอื่น ซึ่งมักจะเข้าขีดเดรัจฉานวิชาอยู่เนืองๆ

ในส่วนตัวแล้วหากผมเห็นว่าใครอวดอ้างว่าตนหรืออาจารย์ของตนนั้นมีอิทธิฤทธิ์ในการจัดการกรรมของคนอื่น ผมก็จะกาหัวไว้ก่อนเลยว่ามิจฉาทิฏฐิแบบสุดๆ

ซึ่งในช่วงนี้เราก็จะได้เห็นความเพี้ยนในความเป็นพุทธ บ้างก็มีภาพลักษณ์เป็นคนดีแต่ก็เห็นผิดเชื่อผิดๆ ซ้ำร้ายอาจจะยังมีพวกอลัชชี ผีผ้าเหลืองที่คอยบั่นทอนความเป็นพุทธด้วยความหลงผิดของตนอีก

ขนาดพระพุทธเจ้าไปห้ามญาติรบกัน 3 ครั้ง สุดท้ายก็ยังห้ามไม่ได้ เพราะเขามีกรรมเป็นของเขา ซึ่งช่วงหลังมานี่มีคนเก่งเกินพระพุทธเจ้าเยอะ ตั้งตนเป็นเกจิอาจารย์อวดอ้างวิธีแก้กรรม ปัดเป่าทุกข์ ฯลฯ

….ก็เรียนรู้กันไป ว่าในปัจจุบันพุทธนั้นผิดเพี้ยนไปขนาดไหนแล้ว

ผลของกรรมเกิดจากสิ่งที่เราทำมา (เรามีกรรมเป็นของตน)

กรณีของคุณปอ ทฤษฎี หากว่าเขาจะหายหรือไม่หายนั้นก็เป็นไปตามกรรมที่เขาทำมา

เราไม่สามารถทำอะไรให้เขามีผลกรรมจากเราได้ กรรมไม่สามารถโยกย้ายได้ ใครทำอะไรไว้คนนั้นก็รับ อ่านต่อ…