ปฏิบัติธรรมไม่มาไม่ไป

May 5, 2015 | | มีผู้เข้าชมทั้งหมด 1,218 views 0

การปฏิบัติธรรมนี่ถ้า “ไม่เห็นตัวกิเลส” จะปฏิบัติไม่ไปไหนเลยนะ ถ้าหลงไปว่า “ความคิด” นั้นคือรากของกิเลสยิ่งแล้วใหญ่ พาลจะไปดับความคิดให้มันวุ่นวายกันไปอีก

จุดที่ควรจะสนใจคือเหตุใดที่ทำให้เราเกิดความคิดนั้นๆ เราหลงเสพ หลงติด หลงยึดในอะไร ลากกิเลสที่ติดออกมาเป็นตัวๆเลย อย่าไปลากออกมาทั้งยวง ถ้าบอกว่า “ความหลง” แบบนี้มันกว้างเกินไป จัดการกิเลสไม่ได้หรอก

ต้องระบุให้ชัดเลยว่าหลงสุขใดตอนที่ได้สัมผัสสิ่งนั้น อย่างเช่นเรื่องการมีคู่ เราสุขตอนที่เขาบอกรัก จับตรงนี้ให้ได้ก่อนแล้ว ค่อยขุดหารากต่อไปอีกที

ถ้าหาเจอแล้วก็ค่อยพิจารณาธรรมกันไป ว่าสุขนั้นเกิดเพราะเรายึดมั่นถือมั่นอะไรไว้ จึงทำให้อยากได้อยากเสพสิ่งนั้น มาถึงขั้นตอนนี้ก็เพียรทำได้แล้ว จะสมถะหรือวิปัสสนาอะไร อัตราส่วนเท่าไหร่ก็แล้วแต่ความถนัด

(ที่กล่าวมาคือส่วนสรุปของ สติปัฏฐาน เพื่อไปสู่ธรรมวิจัยและวิริยะ ซึ่งเป็นองค์ประกอบของโพชฌงค์ ๗)

= = = = = = = = = = =
**แนะนำบทความที่เกี่ยวข้อง

เหตุแห่งทุกข์

Related Posts

  • ถาม-ตอบ มีคำถามข้อสงสัยที่บทความในเว็บไซต์แห่งนี้ไม่ได้ตอบคำถามเหล่านั้นไว้ หรือไม่ตรงตามที่ใจคิดนัก ก็สามารถที่จะส่งคำถามมาได้ในท้ายหน้านี้ ซึ่งท่านไม่จำเป็นต้องแสดงตัวตนแต่อย่างใด เพียงแค่พิมพ์นามสมมุติและถามคำถามที่สงสัยไว้ […]
  • โพชฌงค์ สติปัฏฐาน ฌาน และสภาพจิตสุดท้ายของการกินมังสวิรัติ โพชฌงค์ สติปัฏฐาน ฌาน และสภาพจิตสุดท้ายของการกินมังสวิรัติ เมื่อเราเรียนรู้การกินมังสวิรัติโดยใช้การปฏิบัติศีลเป็นตัวตั้งต้นกันแล้ว ก็จะเข้ามาสู่กระบวนการของการชำแหละกิเลส คือวิจัยให้เห็นองค์ประกอบของความอยากกินเนื้อสัตว์ […]
  • อดีต อนาคต ปัจจุบัน: ตรวจความรู้สึกที่เกิดขึ้นทั้งหมดในทุกช่วงเวลา อดีต อนาคต ปัจจุบัน: ตรวจความรู้สึกที่เกิดขึ้นทั้งหมดในทุกช่วงเวลา หลังจากที่เราได้ผ่านการทดสอบจิตใจตัวเองตั้งแต่ระดับ 1-3 มาแล้ว ก็ยังเหลือการทดสอบอีกขั้นหนึ่งซึ่งเรียกว่าการตรวจเวทนา ๑๐๘ […]
  • กินร่วมจาน : ตรวจกามและอัตตาเมื่อต้องกินร่วมจานกับผู้อื่น กินร่วมจาน : ตรวจกามและอัตตาเมื่อต้องกินร่วมจานกับผู้อื่น เป็นระดับที่สองต่อจาก “กินร่วมโต๊ะ” แต่ก็จะยากขึ้นกว่าเดิมมาก ยังคงต้องใช้พื้นฐานเดิมคือ ”สติสัมปชัญญะ”ความรู้ตัวพร้อมแบบทั่วไป และ "สติปัฏฐาน ๔" คือรู้ กาย เวทนา จิต […]
  • กินร่วมโต๊ะ : ตรวจกามและอัตตาเมื่อต้องกินร่วมโต๊ะกับผู้อื่น กินร่วมโต๊ะ : ตรวจกามและอัตตาเมื่อต้องกินร่วมโต๊ะกับผู้อื่น การตรวจสอบนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ปฏิบัติธรรมมาได้ระดับหนึ่ง ซึ่งสามารถประคองสติได้ดี และเข้าใจในการปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ เข้าใจกาย เวทนา จิต ธรรม […]

ฝากความคิดเห็น : Leave a Reply