น้ำหนักของความรู้สึกในการห่างไกลคนพาล

February 28, 2020 | | มีผู้เข้าชมทั้งหมด 706 views 0

จากชิคุจฉสูตร จะมีตอนหนึ่งที่พระพุทธเจ้าเปรียบโทษของการเข้าไปคบหา เข้าไปชิดใกล้คนพาล มีความเน่าในตน ผิดศีล ฯลฯ ว่าเหมือนกับการเข้าไปใกล้งูที่อยู่ในบ่อขี้ แม้ไม่กัดแต่ถ้าไปใกล้ก็จะทำให้เหม็นได้

คนทั่วไปถ้าไม่ได้ศึกษาและปฏิบิติธรรม เขาจะไม่เข้าใจน้ำหนักที่ควรจะห่างไกลคนพาลเหล่านี้ เขาก็คิดว่าไม่เป็นโทษขนาดนั้นล่ะมั้ง ไม่อันตราย ไม่ถึงขนาดต้องห่างไกลหรอกน่า หรือไม่ก็ทำเป็นไม่รู้จัก ไม่สนใจความเป็นภัยของคนพาลไปเลย

การที่พระพุทธเจ้าจะยกอะไรขึ้นมาเปรียบเทียบนั้น ท่านก็มักจะยกสิ่งที่มีน้ำหนักใกล้เคียงกันเพื่อเปรียบเทียบให้รู้สึก ให้เข้าใจ ให้พอเห็นภาร่วมกันได้ง่ายขึ้น

คนพาลนั้นก็เหมือนกับงูในบ่อขี้ ทั้งอันตราย ทั้งเหม็น แม้ไม่กัดแต่มาเข้าใกล้ก็เหม็น มงคลสูตรที่ว่า ห่างไกลคนพาลนั้น คือต้องมีปัญญาเข้าถึงสภาวะว่าคนพาลเป็นโทษดังนี้ คือเหมือนความอันตรายของงู และเหม็นเหมือนขี้

รู้สึกอย่างไรกับงู ก็รู้สึกกับคนพาลนั้นใกล้เคียงกัน คืออันตราย เป็นภัย ไม่น่าเข้าใกล้ ไม่น่าเข้าไปยุ่งใด ๆ แม้มันจะมีหรือไม่มีพิษ หรือแม้จะกัดหรือไม่กัดก็ตาม คนทั่วไปเขาก็จะไม่อยากเข้าไปใกล้งู อันนี้คือสภาพจิตของคนที่คนใจภัยของคนพาล ก็จะห่างคนพาลไว้ เพราะพิษภัยอันตรายเหล่านั้น

ส่วนบ่อขี้ หรือขี้นี่ก็เป็นอะไรที่คนส่วนใหญ่รังเกียจอยู่แล้ว ยิ่งงูตกถังขี้ยิ่งแย่เข้าไปใหญ่ เพราะปกติขี้มันก็อยู่ของมันอย่างนั้น จะเหม็นโชยขึ้นมาก็เพราะมีอะไรไปเขี่ยหรือทำให้ขยับ แต่ถ้ามีงูไปตกถังขี้แล้วเลื้อยมาทางเรา ก็คล้าย ๆ จะกลายเป็นขี้เดินได้ ทั้งอันตรายทั้งน่ารังเกียจ

ความเห็น ความเข้าใจและชื่อเสียงที่ไม่ดีของคนพาลเช่นกัน ก็เหมือนกับขี้นั่นแหละ คนทั่วไปรังเกียจอย่างไร กับความเน่าในของคนพาลก็มีน้ำหนักเท่านั้นเช่นกัน

ถ้าเห็นความพาลในคนพาล เห็นการโทษของการผิดศีลในคนผิดศีล เห็นความเน่าในตนของคนเสแสร้งได้ชัดเจนแจ่มแจ้งจริง ๆ จะเข้าใจน้ำหนัก ว่าควรจะรักษาระยะห่างในการคบหาเท่าไหร่จึงจะดี ควรจะห่างไปไกลเท่าไหร่ถึงจะปลอดภัย

มันก็เป็นเรื่องง่ายที่เข้าใจได้ยากมากถึงยากที่สุด เพราะคนพาลนั้นรู้ไม่ได้ง่าย ๆ ส่วนมากก็จะเสแสร้งแกล้งทำตัวเป็นคนดี หลอกคน ถึงขนาดว่าขี้ที่เปื้อนก็ยังเป่ามนต์ให้หอมได้ เป็นของวิเศษได้ แบบนั้นก็มีเหมือนกัน

แต่บางคนเขามีวิบากกรรมที่ต้องหลง เพราะเคยไปส่งเสริมมามาก มีกรรมก็ต้องรับกรรม แต่เมื่อรู้แล้ว ชัดแล้ว เห็นความเป็นพาล เห็นความผิดศีลเน่าในแล้ว ก็ควรจะถอยห่างออกมา

Related Posts

  • คนพาลที่ไม่รู้จักคนพาล ยิ่งได้ศึกษาจากพระไตรปิฎก ก็จะยิ่งได้เห็นว่าพระพุทธเจ้าท่านได้แจกแจงความเป็นคนพาล ในระดับต่าง ๆ ไว้ เช่นระดับที่น่าเกลียด ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้ หรือแย่น้อยลงมาคือควรวางเฉย คือไม่ควรไปยุ่งนั่นแหละ ก็ไม่ควรคบ […]
  • บัณฑิตเก๊ พาลจำแลง เวลาเราหลง ไม่มีปัญญา ไม่ฉลาด เราก็จะหลงว่าการคบคนพาลนั้นดี ไม่มีภัย ดีไม่ดีไปอวยคนพาลเข้าอีก แต่เมื่อความจริงเปิดเผย วิบากหมด หายโง่ เกิดปัญญา จึงจะเห็นความพาลในคนพาล เมื่อนั้นแหละ ให้ระวังใจให้ดี […]
  • การเลือกคบคน (ชิคุจฉสูตร) การเลือกคบคน (ชิคุจฉสูตร) พระพุทธเจ้าได้ให้หลักการเลือกคบคนไว้หลายหลักหลายประเด็น ในชิคุจฉสูตรนี้ (พระไตรปิฎก เล่ม 20 ข้อ 466) จะแบ่งคนออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1. คนที่น่าเกลียด ไม่ควรคบ 2. คนที่ไม่ควรใส่ใจ ไม่ควรคบ […]
  • บอกเล่า : ชุดบทความคนพาล (จบ) ก็คิดว่าบทความเกี่ยวกับเรื่องคนพาลตามที่ได้คิดไว้ก็น่าจะจบลงที่เสวิสูตร ซึ่งเป็นพระสูตรที่มีการอนุโลมในการช่วยคนอยู่ ก็เรียกว่าเหมาะจะเป็นตัวจบ เพราะตามโลกมันก็ต้องหลงไปคบคนพาลก่อน > แล้วก็ต้องพัฒนา ออกห่าง ไม่คบคนพาล > […]
  • ห่างไกลคนพาล คือตัวอย่างของคนดี ความเด็ดขาดที่จะตัดสิ่งไม่ดีออกจากชีวิตคือคุณสมบัติหนึ่งที่จะช่วยให้ชีวิตเป็นอยู่ผาสุก ความห่วงกังวลก็เหมือนแผลเหมือนฝี ต้องคอยระวัง เจ็บปวดอยู่เป็นประจำ ชีวิตที่เนื่องด้วยคนพาลก็เช่นเดียวกัน คนพาลคือผู้ที่ไม่ประพฤติไปตามธรรม […]

ฝากความคิดเห็น : Leave a Reply