ความเพี้ยนในความเป็นพุทธ

พระปลอม

December 24, 2015 | | มีผู้เข้าชมทั้งหมด 1,184 views 0

สมัยพระเจ้าอโศกมหาราชเป็นยุคที่พระพุทธศาสนารุ่งเรือง นักบวชนอกพุทธค่อยๆเสื่อมจากลาภสักการะ จึงปลอมเข้ามาบวชในพุทธศาสนาเพื่อแสวงหาลาภสักการะเหล่านั้น ซึ่งสุดท้ายก็โดนจับสึกไปในที่สุด

ในยุคนั้นยังดีที่ยังกำราบความชั่วไว้ได้ แต่ยุคนี้ดูเหมือนจะหนักหนา และยากต่อการกำจัดผู้ที่เข้ามาปลอมปนเพราะหวังจะได้ลาภสักการะเหล่านั้น

เป็นงานใหญ่ของผู้มีหน้าที่สานต่อศาสนาที่จะต้องชี้ผิดชี้ถูก แยกดีแยกชั่วให้ชัดเจน จำเป็นต้องเอาภาระทั้งนักบวชและผู้ครองเรือนผู้มีศรัทธาอันมั่นคงไม่หวั่นไหวในศาสนา

ญาณปัญญาหนึ่งของสาวกแท้ๆ ของพระพุทธเจ้าคือการเอาภาระของหมู่มิตรดีสหายดี จะไม่ปลีกตัว ขี้เกียจทำงาน ตัดขาดจากโลก เพื่อความสงบสุขของตนแต่ผู้เดียว

ความผิดเพี้ยนที่เห็นได้ง่ายที่สุดคือเรื่องของลาภสักการะ ผู้ใดบวชเข้ามาปลอมปนเพื่อลาภสักการะเหล่านั้น ผู้มีปัญญาย่อมเห็นได้ชัดเจน ไม่สงสัยว่าสิ่งใดจริง สิ่งใดปลอม

ส่วนความผิดเพี้ยนในทิฏฐิอื่นๆอีก ๖๒ ประการนั้นเป็นเรื่องยากที่ต้องใช้เวลา

ความฉลาดที่จะกินเนื้อสัตว์ได้อย่างมีเหตุมีผล

December 20, 2015 | | มีผู้เข้าชมทั้งหมด 1,250 views 0

ฉลาดเฉโก คือ กิเลสฉลาด

ไม่ใช่ปัญญาที่พาพ้นทุกข์ แต่เป็นความฉลาดของกิเลสที่พาให้เป็นทุกข์ด้วยการหาช่องในการเสพสิ่งที่ไร้สาระ

การเห็นโทษภัยของการเบียดเบียนเพราะกินเนื้อสัตว์ เป็นปัญญาระดับพื้่นๆ คนทั่วไปก็สามารถรู้ได้เข้าใจได้ ว่าการที่เรายังกินเนื้อสัตว์อยู่จะไปมีส่วนในการเบียดเบียน

ถ้ายังไม่มีปัญญาเห็นโทษของความตื้นระดับนี้ ก็อย่าหวังจะมีปัญญาในระดับลึกเลย พระอริยะก็เป็นหวังเลย พระอรหันต์ยิ่งไม่ต้องหวังเลย เพราะนี้มันปัญญาระดับที่คนดีทั่วไปยังเข้าใจได้เท่านั้นเอง ถ้ายังเข้าใจไม่ได้แล้วจะหวังให้ตนเองมีปัญญาสูงกว่านั้นได้อย่างไร

การเห็นโทษภัยของการเบียดเบียนกันด้วยการฆ่านี้เป็นเรื่องหยาบ การปฏิบัติธรรมของพุทธต้องเป็นไปตามลำดับ หยาบ กลาง ละเอียด ไม่ใช่อยู่ๆโผล่มาเป็นพระอรหันต์เลย มันต้องละอบายมุขให้ได้ก่อน ศีล ๕ ให้ได้ก่อน การเบียดเบียนตื้นๆเช่นนี้เอาออกให้ได้ก่อน

ไม่ใช่จะมาตีกินว่าฉันบรรลุธรรมขั้นนั้นขั้นนี้แล้ว หาช่องให้ตัวเองเสพ อันนั้นมันเฉโก กิเลสมันฉลาด มันไม่มีความสะดุ้งกลัวต่อการเบียดเบียน ไม่มีหิริโอตตัปปะ ธรรมะมันจะขัดกันวุ่นวายไปหมด มีแต่วาทะว่าฉันนี้เลิศ แต่ไม่ลดการเบียดเบียน

สรุปไว้ก่อนเลยว่า ถ้ายังไม่มีปัญญาเห็นโทษของการกินเนื้อสัตว์ที่เขาฆ่ามา ก็อย่าเฉโกว่าตัวเองมีปัญญามากกว่านั้นเลย ที่ยากกว่านั้นยังมีอีกเยอะ

เดี๋ยวคนเขาจะเข้าใจผิดว่าศาสนาพุทธเป็นศาสนาเทวดา ที่สามารถเบียดเบียนผู้อื่นได้โดยไม่มีผลกรรมอะไรที่ต้องรับผิดชอบ มันจะพาโง่ พามิจฉาทิฏฐิวุ่ยวายกันไปหมด มันจะแก้ยาก

พระไตรปิฏกมีหลักฐานไว้ชัดเจนอยู่แล้วว่าผู้เจริญในทางพุทธศาสนา ตัวเองก็ต้องไม่ฆ่า และไม่ชักชวนให้ผู้อื่นฆ่าทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งยังต้องสรรเสริญคุณของการไม่ฆ่านั้นอีก (เล่ม 19 ข้อ 1459)

ถ้าตัวเองยังกินเนื้อที่เขาฆ่ามาอยู่ มันก็คือการทำให้คนเข้าใจว่าการให้กันด้วยเนื้อที่เขาฆ่ามานั้นดี มันก็ผิดหลักปฏิบัติทั้งยังขัดกับความรู้สึกของผู้ไม่เบียดเบียนอยู่เนืองๆ

แต่ก็เอาเถอะ… คนปฏิบัติแบบมิจฉา ก็ย่อมได้มิจฉาผลเป็นธรรมดา การที่เขาเหล่านั้นจะไม่มีหิริโอตตัปปะย่อมเป็นเรื่องธรรมดาเช่นกัน

คนที่ไม่ยึดติดจะโอนอ่อนไปสู่สิ่งที่เป็นกุศล สิ่งที่ไม่เบียดเบียน แต่คนที่ยึดติด กิเลสจะพาเฉโกให้ไปทางเบียดเบียน จะเถียงกิน ทำอย่างไรก็ได้ให้ตัวเองได้กิน แม้จะกล่าวตู่ว่าพระพุทธเจ้าฉันเนื้อสัตว์ก็ยังกล่าวได้โดยไม่ละอายใจใดๆ เพราะไม่ได้ศึกษามานั่นเอง

สรุปสุดท้ายไว้ว่า สาวกของพระพุทธเจ้าแท้ๆ เป็นผู้ไม่เบียดเบียนทั้งทางตรงและทางอ้อม ส่วนพวกที่ยังเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นอยู่โดยไม่รู้สึกผิดนั้น ก็สุดแล้วแต่จะพิจารณา… (เล่ม 25 ข้อ 29)

เรียนรู้วิกฤติพุทธจาก กระแสสังคมในช่วงการป่วยของคุณปอ ทฤษฏี

November 23, 2015 | | มีผู้เข้าชมทั้งหมด 1,116 views 0

จากช่วงนี้ เราจะเห็นได้ว่ามีกระแสแปลกๆออกมามากมาย เช่นคนนั้นจะแก้กรรมให้ คนนั้นจะหาวิธีพ้นกรรม ปัดกรรม ชะลอกรรม ฯลฯ หรืออะไรก็ตามที่เป็นศาสตร์ในเชิงลึกลับ ที่ไปยุ่งวุ่นวายกับกรรมคนอื่น ซึ่งมักจะเข้าขีดเดรัจฉานวิชาอยู่เนืองๆ

ในส่วนตัวแล้วหากผมเห็นว่าใครอวดอ้างว่าตนหรืออาจารย์ของตนนั้นมีอิทธิฤทธิ์ในการจัดการกรรมของคนอื่น ผมก็จะกาหัวไว้ก่อนเลยว่ามิจฉาทิฏฐิแบบสุดๆ

ซึ่งในช่วงนี้เราก็จะได้เห็นความเพี้ยนในความเป็นพุทธ บ้างก็มีภาพลักษณ์เป็นคนดีแต่ก็เห็นผิดเชื่อผิดๆ ซ้ำร้ายอาจจะยังมีพวกอลัชชี ผีผ้าเหลืองที่คอยบั่นทอนความเป็นพุทธด้วยความหลงผิดของตนอีก

ขนาดพระพุทธเจ้าไปห้ามญาติรบกัน 3 ครั้ง สุดท้ายก็ยังห้ามไม่ได้ เพราะเขามีกรรมเป็นของเขา ซึ่งช่วงหลังมานี่มีคนเก่งเกินพระพุทธเจ้าเยอะ ตั้งตนเป็นเกจิอาจารย์อวดอ้างวิธีแก้กรรม ปัดเป่าทุกข์ ฯลฯ

….ก็เรียนรู้กันไป ว่าในปัจจุบันพุทธนั้นผิดเพี้ยนไปขนาดไหนแล้ว

ผลของกรรมเกิดจากสิ่งที่เราทำมา (เรามีกรรมเป็นของตน)

กรณีของคุณปอ ทฤษฎี หากว่าเขาจะหายหรือไม่หายนั้นก็เป็นไปตามกรรมที่เขาทำมา

เราไม่สามารถทำอะไรให้เขามีผลกรรมจากเราได้ กรรมไม่สามารถโยกย้ายได้ ใครทำอะไรไว้คนนั้นก็รับ อ่านต่อ…

ไตรสิกขา มันไม่ได้ปฏิบัติแบบนั้น!

November 23, 2015 | | มีผู้เข้าชมทั้งหมด 1,204 views 0

ไม่ใช่ว่ารับศีลรับพร ถือศีล แล้วไปนั่งสมาธิกำหนดจิต แล้วหวังว่าจะเกิดปัญญาเองขึ้นมา อันนั้นมันไม่ใช่ไตรสิกขาของพุทธ เป็นอะไรก็ไม่รู้เหมือนกัน ไปปฏิบัติแยก ศีล สมาธิ ปัญญาออกจากกันมันจะเจริญได้อย่างไร

ศึกษากันดีๆเถอะ ถ้ายิ่งทำยิ่งทุกข์นี่ยิ่งผิดทางแล้ว ทิศที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้มีแนวทางกำกับไว้แล้วคือ

1.เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด
2.เป็นไปเพื่อความพราก
3.เป็นไปเพื่อความไม่สะสม
4.เป็นไปเพื่อความมักน้อยกล้าจน
5.เป็นไปเพื่อความสันโดษใจพอ
6.เป็นไปเพื่อความสงัดจากกิเลส
7.เป็นไปเพื่อปรารภความเพียรยอดขยัน
8.เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย
(หลักตัดสินธรรมวินัย ๘ เล่ม ๒๓ สังขิตตสูตร ข้อ ๑๔๓)

ไม่ใช่ว่าปฏิบัติไปในแนวทาง 8 ข้อนี้แล้วจะทุกข์มากขึ้นนะ ถ้าผิดก็ยิ่งทุกข์ แต่ถ้าถูกก็จะพ้นทุกข์โดยลำดับแล้วสามารถขยับฐานขึ้นไปให้ยิ่งขึ้นได้โดยไม่ลำบาก

ถึงจะปฏิบัติไปแล้วจะรู้สึกทุกข์น้อยลงสุขมากขึ้น แต่ถ้าไม่เข้าหลักนี้ก็ให้พิจารณาตัวเองดีๆ เพราะมันมีมิจฉาทิฏฐิที่เห็นว่าสุขในกามคือนิพพานเหมือนกัน

ไตรสิกขา

ไตรสิกขา