ประยุกต์ธรรม ทำตามมรรค

June 26, 2015 | | มีผู้เข้าชมทั้งหมด 1,209 views 0

บทความ “อยากโสด แต่กิเลสไม่ยอมให้โสด” ก่อนหน้านี้สามารถประยุกต์ได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น…

อยากผอม..แต่กิเลสไม่ยอมให้ผอม
อยากเลิกกินเหล้า..แต่กิเลสไม่ยอมให้เลิก
อยากเลิกกินเนื้อสัตว์..แต่กิเลสไม่ยอมให้เลิก
อยากกินมื้อเดียว..แต่กิเลสไม่ยอมให้กินมื้อเดียว
อยากทำ(สิ่งที่ดี)…แต่กิเลสไม่ยอมให้ทำ(สิ่งที่ดี)…ฯลฯ

ใครที่อ่านแล้วก็ลองเอามาปรับใช้กับสิ่งที่เป็นภัยต่อชีวิตตนเองที่กำลังคิดจะละเว้นกันอยู่
…..

ผมเคยเห็นคนที่มีศรัทธามาก ศึกษามาก ตั้งใจมาก อยากพ้นทุกข์มาก แต่เขาก็ยังไม่สามารถลดสิ่งที่เป็นภัยต่อชีวิตได้ ไม่สามารถต้านพลังของกิเลสได้ ไม่สามารถทำให้ตนหลุดพ้นจากสิ่งที่หลงติดหลงยึดได้

ผมสังเกตุว่า “มรรค” หรือวิถีปฏิบัติของพวกเขานั้นไปผิดทาง ไม่ได้มีทิศทางไปในทางลดกิเลส ซึ่งเป็นเป้าหมายเดียวที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า เป็นเป้าหมายเดียวของการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา (จูฬสีหนาทสูตร)

เมื่อมรรคผิดก็คงไม่ต้องถามถึงผล เพราะผิดแน่นอน ส่วนจะได้ผลอย่างไรนั้นก็ไม่รู้เหมือนกัน เพราะทางแห่งมิจฉานั้นมีผลมากมายหลากหลาย แม้ว่าจะได้ผล แต่ก็เป็นผลที่ผิด ทำให้ติดให้ตัน ให้หลงผิด

เรียกว่ากิเลสก็ไม่ลด แถมยังอาจจะเพี้ยนเป็นบ้าไปได้อีก ทุกข์ก็ไม่ลด แถมความห่างไกลทางพ้นทุกข์ก็มากขึ้น ซวยสุดซวย

Related Posts

  • ถาม-ตอบ มีคำถามข้อสงสัยที่บทความในเว็บไซต์แห่งนี้ไม่ได้ตอบคำถามเหล่านั้นไว้ หรือไม่ตรงตามที่ใจคิดนัก ก็สามารถที่จะส่งคำถามมาได้ในท้ายหน้านี้ ซึ่งท่านไม่จำเป็นต้องแสดงตัวตนแต่อย่างใด เพียงแค่พิมพ์นามสมมุติและถามคำถามที่สงสัยไว้ […]
  • นักเดินทาง …สายกลาง นักเดินทาง ...สายกลาง ในชีวิตเรานั้นมีเส้นทางมากมายให้เลือกเดินทาง หลายคนไปดูภูเขา หลายคนไปชมทะเล หลายคนไปเยือนทุ่งกว้าง หลายคนไปหาประสบการณ์ในต่างแดน แต่ก็มีบางคนที่เลือกเดินในเส้นทางที่ต่างออกไป เป็นเส้นทางที่ไกลแสนไกล […]
  • สัตว์และเนื้อสัตว์ สิ่งที่ชาวพุทธไม่ควรค้าขาย ภาคปฏิบัติ *ควรศึกษาเนื้อหาในบทความ "สัตว์และเนื้อสัตว์ สิ่งที่ชาวพุทธไม่ควรค้าขาย" เพื่อความเข้าใจที่เพิ่มมากขึ้น สัตว์และเนื้อสัตว์ สิ่งที่ชาวพุทธไม่ควรค้าขาย ภาคปฏิบัติ […]
  • สมถะ-วิปัสสนา เมื่อใช้ตามแนวทางอริยสัจ ๔ สมถะ-วิปัสสนา เมื่อใช้ตามแนวทางอริยสัจ ๔ สมถะและวิปัสสนานั้นเป็นสิ่งที่ปฏิบัติแตกต่างกัน ผลที่ได้ก็จะแตกต่างกัน เราจึงควรเรียนรู้ความต่างของสมถะและวิปัสสนาเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด สมถะ คือ การใช้อุบายให้เกิดความสงบใจ […]
  • จิตว่าง จิตว่าง ...ว่างจากอะไร? จิตว่างเป็นคำที่ในยุคสมัยนี้นิยมกันมาก เพราะเป็นคำที่สั้น จำง่าย เหมาะกับยุคที่รวดเร็วร้อนแรงเช่นนี้อย่างยิ่ง แต่หลายคนมักจะมีนิยามของจิตว่างในใจที่ต่างกันออกไป […]

ฝากความคิดเห็น : Leave a Reply